Loading...

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร.ทส.)

Public Sector Development Group

ขนาดอักษร
เปลี่ยนการแสดงผล C C C
TH EN

การเข้าร่วมคลินิกให้คำปรึกษาการจัดทำตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

การเข้าร่วมคลินิกให้คำปรึกษาการจัดทำตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

เมื่อวันที่-31-สิงหาคม-2566-เวลา-13.30--16.30-น.-กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร-(กพร.ทส.)-ได้เข้าร่วมคลินิกให้คำปรึกษาการจัดทำตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ-ประจำปีงบประมาณ-พ.ศ. 2567-ณ ห้องประชุมกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ชั้น 9 อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (แอปพลิเคชัน Zoom)-ร่วมกับสำนักงาน-ก.พ.ร.-และกรมควบคุมมลพิษ-(คพ.)-โดยได้ร่วมกันพิจารณา-(ร่าง)-ตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ-ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ คพ. จำนวน 7 ตัวชี้วัด โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดในเบื้องต้น และให้ คพ. ดำเนินการ ดังนี้

1. ตัวชี้วัดร้อยละของปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง-ให้ตรวจสอบข้อมูลพื้นฐาน-เพิ่มเติมคำอธิบาย-และ-หมายเหตุให้เป็นไปตามข้อเท็จจริง ปรับแผนการดำเนินการตามตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 1 (6 เดือน) ให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานที่ปรับ และปรับเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 2 (12 เดือน) ตามข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ.ร.
2. ตัวชี้วัดร้อยละของแหล่งกำเนิดมลพิษเป้าหมายปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม ให้เพิ่มเติมสูตรการคำนวณ ปรับเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 1 (6 เดือน) โดยพิจารณากำหนดจากกิจกรรมตามแผนการดำเนินการตามตัวชี้วัด และรอบที่ 2 (12 เดือน) โดยพิจารณากำหนดเป้าหมายจากผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และปรับแผนการดำเนินการตามตัวชี้วัด
3. ตัวชี้วัดร้อยละความพึงพอใจต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษในระดับพื้นที่ ให้เพิ่มเติมคำอธิบายโดยเพิ่มวิธีและช่องทางการสำรวจความพึงพอใจ และจำนวนกลุ่มเป้าหมายการสำรวจความพึงพอใจขั้นต่ำต่อ สคพ. 
4. ตัวชี้วัดคุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักที่อยู่ในเกณฑ์ดี ปรับเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 2 (12 เดือน) โดยวัดเกณฑ์การประเมินตามปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และปรับแผนการดำเนินการตามตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 1 (6 เดือน) 
5. ตัวชี้วัดการประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจก (MtCO2eq) เป็นไปตาม Template ของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
6.-ตัวชี้วัดค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน-2.5-ไมครอน-(PM2.5)-ในพื้นที่ภาคเหนือลดลงให้ตัดคำอธิบายในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควันข้ามแดนออก-ปรับแผนการดำเนินการตามตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 1 (6 เดือน) และจัดส่งข้อมูลพื้นฐาน (Baseline) และผลการดำเนินงานให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อพิจารณากำหนดเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 2 (12 เดือน) 
7. ตัวชี้วัดค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลลดลง ให้ตัดคำอธิบายในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควันข้ามแดนออก ปรับแผนการดำเนินการตามตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 1 (6 เดือน) และจัดส่งข้อมูลผลการดำเนินงาน ให้สำนักงาน ก.พ.ร. 
ทั้งนี้ ขอให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขข้อมูลตามความเห็นที่ประชุมและจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณา ต่อไป

แกลเลอรี่