เมื่อวันที่ 4 กันยายน-2566 เวลา-09.00 – 12.00 น. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร.ทส.) ได้เข้าร่วมคลินิกให้คำปรึกษาการจัดทำตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ-ประจำปีงบประมาณ-พ.ศ.-2567-ณ-ห้องประชุมกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร-ชั้น-9-อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม-และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ -(แอปพลิเคชัน-Zoom)-ร่วมกับสำนักงาน-ก.พ.ร.-และกรมอุทยานแห่งชาติ-สัตว์ป่า-และพันธุ์พืช-(อส.)-โดยได้ร่วมกันพิจารณา-(ร่าง)-ตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ อส. จำนวน 7 ตัวชี้วัด โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดในเบื้องต้น และให้ อส. ดำเนินการ ดังนี้
1. ตัวชี้วัดจำนวนพื้นที่การปลูกฟื้นฟูป่า (ป่าอนุรักษ์) ให้เพิ่มเติมคำอธิบาย สูตรการคำนวณ และปรับเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 1-(6 เดือน) โดยพิจารณากำหนดค่าเป้าหมายจากกิจกรรมตามแผนการดำเนินการตามตัวชี้วัด และปรับเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 2 (12 เดือน) โดยเป้าหมายขั้นต้นกำหนดจากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ขั้นมาตรฐานกำหนดจากเป้าหมายปี 67
2.-ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาเมื่อมีเหตุช้างป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์-ให้เพิ่มเติมคำอธิบาย-คำว่า-พบความเสียหาย/ไม่พบความเสียหาย-และปรับเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 1 (6 เดือน) และรอบที่ 2 (12 เดือน) โดยพิจารณากำหนดตามแบบประเมิน หรือพิจารณากำหนดตาม (Baseline)
3. ตัวชี้วัดจำนวนพื้นที่ที่ได้รับการป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดิน (ไร่)-ในพื้นที่อนุรักษ์ ให้เพิ่มเติมข้อมูลพื้นฐาน และค่าเป้าหมายให้ครบถ้วน ปรับเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 1 (6 เดือน) โดยพิจารณากำหนดค่าเป้าหมายจากกิจกรรมตามแผนการดำเนินการตามตัวชี้วัด รอบที่ 1 (6 เดือน) และกำหนดแผนให้สอดคล้องกับการดำเนินงานจริง และรอบที่ 2 (12 เดือน) โดยกำหนดเป้าหมายขั้นต้น จากผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และจัดส่งข้อมูลพื้นฐาน (Baseline)-และผลการดำเนินงาน ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อพิจารณากำหนดเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 2 (12 เดือน)
4.-ตัวชี้วัดแปลงปลูกป่าสาธิตที่สามารถประเมินการกักเก็บคาร์บอนเพื่อเป็นข้อมูลในฐานข้อมูลการกักเก็บคาร์บอนของประเทศไทย ให้เพิ่มเติมคำอธิบาย โดยเพิ่มพื้นที่ที่ดำเนินการ ดำเนินการแล้วเสร็จ อย่างไรถึงนับเป็น 1 แปลง ปรับแผนการดำเนินการตามตัวชี้วัดใหสอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ และปรับเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 1 (6 เดือน) และรอบที่ 2 (12 เดือน) โดยพิจารณากำหนดค่าเป้าหมายจากผลลัพธ์ (Outcome) จากแปลงปลูกป่าสาธิต
5.-ตัวชี้วัดระบบฐานข้อมูลการกักเก็บคาร์บอนของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ป่าอนุรักษ์-เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน-LT-LEDS-ของประเทศ-ให้ปรับแผนการดำเนินการตามตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ และระบุกิจกรรมให้สอดคล้องกับการดำเนินงานจริง ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. มีข้อเสนอแนะให้พิจารณาเสนอ ตัวชี้วัดที่ 4 และ 5-รวมเป็น 1 ตัวชี้วัดได้หากสามารถเชื่อมโยงการวัดได้ทั้ง Agenda V02 และ V04
6.-ตัวชี้วัดอุทยานแห่งชาติที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอุทยานแห่งชาติสีเขียว ให้เพิ่มเติมคำอธิบายข้อมูลเกณฑ์การประเมินอุทยานฯ ข้อมูลพื้นฐานการประเมินซ้ำทุก 3 ปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีการประเมินซ้ำกี่แห่ง จำนวนอุทยานที่สมัคร-ปี 60-65 และปี 66 ที่อยู่ระหว่างประกาศ และปรับเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 1 (6 เดือน) โดยให้กำหนดกิจกรรมในแผนการดำเนินการตามตัวชี้วัด รอบที่ 2 (12 เดือน) โดยพิจารณากำหนดเป้าหมายขั้นต้นจากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี
7. ตัวชี้วัดการพัฒนาศักยภาพของชุมชน/เครือข่ายต่อการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 ปรับเกณฑ์การประเมิน รอบที่ 1 (6 เดือน) และรอบที่ 2 (12 เดือน) โดยพิจารณากำหนดค่าเป้าหมายจากผลลัพธ์ (Outcome) ปรับแผนการดำเนินการให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ และระบุกิจกรรมให้สอดคล้องกับการดำเนินงานจริง
ทั้งนี้ ขอให้ อส. พิจารณากำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดการหมอกควันและไฟป่า (Hotspot) เพิ่มเติม หรือนำมาแทนตัวชี้วัดการพัฒนาศักยภาพของชุมชน/เครือข่ายต่อการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 เนื่องจากเป็นภารกิจของหน่วยงาน และขอให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขข้อมูลตามความเห็นที่ประชุมและจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อพิจารณา ต่อไป